มาตุภูมิของวัฒนธรรมจีน

เมืองสวีโจว(徐州市) ชื่อย่อคือ สวี(徐) สมัยโบราณเรียกว่า กู่เฉิง(彭城) เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน มีประวัติศาสตร์อารยธรรมยาวนานกว่า 6,000 ปี และประวัติศาสตร์การสร้างเมือง 2,600 ปี เป็นมาตุภูมิของจักรพรรดิที่มีชื่อเสียง มรดกทางประวัติศาสตร์อันลึกซึ้ง ทำให้เมืองสวีโจวได้รับขนานนามว่าเป็น “เอเธนส์ตะวันออก”

เมื่อมาเที่ยวสวีโจว เส้นทางท่องเที่ยวสุดคลาสสิก ก็ต้องเป็นเขตท่องเที่ยววัฒนธรรมฮั่น “สามสิ่งมหัศจรรย์ราชวงศ์ฮั่น”ซึ่งประกอบขึ้นจากสุสานราชวงศ์ฮั่น รูปปั้นทหารม้าราชวงศ์ฮั่น และภาพแกะสลักบนหิน  สุสานฉู่หวัง(楚王陵) บนภูเขาซือจื่อ(狮子山)ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสุสานหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีมรดกหลงเหลือไว้มากที่สุดในฮั่นตะวันตก “เสื้อหยกไหมทอง”ก็มีต้นกำเนิดจากที่นี่

เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังพร้อมศพ รูปปั้นททารม้าที่แกะสลักอย่างประณีตมากกว่า 4,000 ชิ้น แต่ละชิ้นทำด้วยมือ ภาพแกะสลักฝาผนังที่ชาวฮั่นแกะสลักบนกำแพงห้องสุสาน ทางเดินภาพแกะสลักหินความยาวกว่า 300 เมตร ไม่เพียงแต่แสดงถึงการขับร้องเต้นรำบนโลกสวรรค์แล้ว ยังได้เห็นถึงความสุข ความโกรธ และความทุกข์ของชาวโลกอีกด้วย ความงามของมันนั้นเรียบง่าย แต่น่าประทับใจ



อุโมงค์แห่งกาลเวลาต้นแปะก๊วย(银杏时光隧道) ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเหยาจวง ตำบลเถี่ยฟู่ เมืองพีโจว ภายใต้การปกครองของสวีโจว มีถนนในหมู่บ้านเส้นหนึ่งถูกเรียกว่า “อุโมงค์แห่งกาลเวลา” มีความยาวทั้งสิ้น 3 กิโลเมตร สองข้างทางเป็นต้นแปะก๊วยที่มีกิ่งก้านยื่นเข้าหากัน ในฤดูใบไม้ร่วงของทุกปี ทะเลต้นแปะก๊วยสีเหลืองทองดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนนับไม่ถ้วนให้มาเชยชม ราวกับเดินเล่นอยู่ในโลกแห่งนิทาน

ด้านทิศเหนือของอุโมงค์แห่งกาลเวลามีโบราณสถาน เช่น ท่าเรือม้า บ่อหินโบราณ เป็นต้น ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีซอยหยกโบราณ ศิลปะการตัดกระดาษ จิตรกรรมฝาผนังชาวนาที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายความเก่าแก่ จะพาคุณข้ามเวลาไปนับพันปี



คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 สถานีย่อยของคนไทย      ติดต่อเรา   SiteMap