เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนครึ่งที่ 36.07 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่เงินดอลลาร์ อ่อนค่า หลังจากตลาดประเมินว่า เฟดมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. นี้
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาขยับแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทและสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงกดดันต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานของสหรัฐ ที่ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด ซึ่งอาจทำให้มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าหนึ่งครั้งในปีนี้
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ ยังอ่อนค่าลงต่อเนื่องสอดคล้องกับการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐ หลังถ้อยแถลงของประธานเฟดและตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (ของสหรัฐ เดือน มิ.ย. ที่ชะลอลงมากกว่าที่คาด หนุนให้ตลาดปรับเพิ่มน้ำหนักความเป็นไปได้สำหรับโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือน ก.ย. ที่จะถึงนี้
โดยของสหรัฐ ชะลอลงลงมาที่ 3.0% ในเดือน มิ.ย. (ตลาดคาดที่ 3.1% นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลกและสัญญาณซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน
ในวันศุกร์ที่ ก.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 36.18 บาทต่อดอลลาร์ หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนครึ่งที่ 36.07 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 36.58 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (5 ก.ค. 67)
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 8-12 ก.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 3,149.7 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น เข้าตลาดพันธบัตรไทย 8,716 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตร 10,347 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 1,631 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (15-19 ก.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 36.00-36.50 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์สกุลเงินในภูมิภาค ถ้อยแถลงของประธานเฟดและเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่น และผลการประชุม
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กเดือน ก.ค. ยอดค้าปลีก ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน ก.ค. รายงาน Beige Book ของเฟด และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2567 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือน มิ.ย. ของจีน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. ของอังกฤษยูโรโซน และญี่ปุ่น