ดูกันชัดๆ! ‘เงินบาทแข็งค่า’ ใครได้-ใครเสีย การส่งออกกระทบไหม

ดูกันชัดๆ! "ค่าเงินบาทแข็งค่า" ใครได้ ใครเสียประโยชน์ ผู้ได้รับผลกระทบเป็นใคร การส่งออกกระทบไหม สาเหตุของเงินบาทแข็งค่ามาจากอะไร?

ในเวลานี้ “ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก” สาเหตุเป็นเพราะเงินดอลลาร์อ่อนค่า หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ลดดอกเบี้ยแรง 0.50% และมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยต่อ รวมทั้งราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวพุ่งสูง แล้วค่าเงินบาท หรือที่เรียกว่าอัตราแลกเปลี่ยน คืออะไร เงินบาทแข็งค่า หรืออ่อนค่า เป็นอย่างไร?

อัตราแลกเปลี่ยนคืออะไร?


เมื่อมีการค้าขายกับต่างประเทศ แต่ใช้สกุลเงินต่างกัน ประเทศคู่ค้าต้องทำการกำหนด “อัตราแลกเปลี่ยน” ระหว่างเงินสองสกุล ซึ่งการเทียบเงินสกุลที่ต่างกันนี้ ไม่ได้เปรียบเทียบจากขนาดของประเทศหรือขนาดเศรษฐกิจ แต่จะเปรียบเทียบจาก “อำนาจซื้อที่แท้จริง” ของเงินสกุลนั้น ๆ ในการซื้อสินค้าหรือบริการ

ค่าเงินแข็ง/อ่อน คืออะไร?


อัตราแลกเปลี่ยนไม่จำเป็นต้องเท่าเดิมเสมอไป อาจแพงขึ้นหรือถูกลงก็ได้ หรือที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่า ค่าเงินแข็งหรืออ่อน ยกตัวอย่าง “ค่าเงินบาทแข็ง” หมายถึง เงินบาทมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น หากเมื่อวานนี้ใช้เงิน 30 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่วันนี้อัตราแลกเปลี่ยนถูกปรับเป็น 28 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น เงินบาทมีค่ามากขึ้นหรือ “แพงขึ้น” เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หรือเรียกว่า “ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ”

ส่วน “ค่าเงินบาทอ่อนลง” ก็มีลักษณะตรงข้าม คือ เงินบาทมีค่าน้อยลงหรือ “ถูกลง” เช่น เมื่อวานใช้เงิน 30 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่วันนี้อัตราแลกเปลี่ยนถูกปรับเป็น 32 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ สถานการณ์นี้เรียกว่า “ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ”

สาเหตุที่ทำให้ค่าเงินแข็ง/อ่อน?


เงินแต่ละสกุลมีลักษณะเหมือนสินค้าที่ราคาขึ้นลงจากกลไกตลาด หรือกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานเงินตราของแต่ละประเทศ เช่น กรณีเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หากมีความต้องการซื้อเงินบาทมากขึ้น โดยเอาเงินดอลลาร์สหรัฐมาขาย เงินบาทก็จะแพงขึ้น (แข็งค่าขึ้น) ในทางกลับกัน หากมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น โดยเอาเงินบาทมาขาย เงินบาทก็จะถูกลง (อ่อนค่าลง)

เงินบาทแข็งค่า ผู้ที่ได้ประโยชน์เป็นใครบ้าง?

ผู้นำเข้า จ่ายเงินเท่าเดิม ได้ของเพิ่มขึ้น หรือนำเข้าสินค้าเท่าเดิมในราคาที่ถูกลงนักลงทุน ลงทุนนำเข้าเครื่องจักร และอุปกรณ์ในราคาถูกลงผู้ที่เป็นหนี้กับต่างประเทศ ใช้เงินบาทน้อยลง ชำระหนี้เท่าเดิมคนไทยไปเที่ยว นักศึกษาที่จะไปเรียนต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายถูกลงเมื่อเทียบเป็นเงินบาทคนทั่วไป ซื้อสินค้านำเข้าในราคาถูกลง

เงินบาทแข็งค่า ผู้ที่เสียประโยชน์เป็นใคร?

ผู้ส่งออก ส่งออกของเท่าเดิม ได้รับชำระเป็นเงินดอลลาร์เท่าเดิม แต่แลกเป็นเงินบาทได้น้อยลงคนไทยทำงานในต่างประเทศ เอาค่าจ้างกลับมาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลงผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินต่างประเทศ นำมาแลกเงินบาทได้น้อยลง

เงินบาทอ่อนค่า ผู้ที่ได้ประโยชน์คือ?

ผู้ส่งออก ส่งออกของเท่าเดิม ได้รับชำระเป็นเงินดอลลาร์เท่าเดิม แต่แลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้นคนไทยทำงานในต่างประเทศ เอาค่าจ้างกลับมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินต่างประเทศ นำมาแลกเงินบาทได้มากขึ้น

เงินบาทอ่อนค่า ผู้ที่เสียประโยชน์?

ผู้นำเข้า จ่ายเงินเท่าเดิม ได้ของน้อยลง หรือนำเข้าสินค้าเท่าเดิมในราคาที่แพงขึ้นนักลงทุน ลงทุนนำเข้าเครื่องจักร และอุปกรณ์ในราคาแพงขึ้นผู้ที่เป็นหนี้กับต่างประเทศ ใช้เงินบาทมากขึ้น ชำระหนี้เท่าเดิมคนไทยไปเที่ยว นักศึกษาที่จะไปเรียนต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายแพงขึ้นเมื่อเทียบเป็นเงินบาทคนทั่วไป ซื้อสินค้านำเข้าในราคาแพงขึ้น

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 สถานีย่อยของคนไทย      ติดต่อเรา   SiteMap