ครม.เคาะเงินหมื่นเฟสสอง 60 ปีขึ้นไป 4 ล้านคน มอบเป็นของขวัญปีใหม่

ครม. เคาะเงินหมื่นเฟสสอง 60 ปีขึ้นไป 4 ล้านคน เป็นของขวัญปีใหม่ จ่ายตามไทม์ไลน์เดิมไม่เกิน ม.ค. 68

เมื่อเวลา 12.45 น. วันที่ 24 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ ด้วยการแจกเงินสด 10,000 บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของผู้สูงอายุให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่จำเป็น โดยการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐที่มีสัญชาติไทย และมีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยให้เร่งจ่ายเงินครั้งแรกในเดือน ม.ค. 2568 ผ่านบัญชีพร้อมเพย์


นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวว่า ทั้งนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือดีจีเอ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย เพื่อเข้าไปดูรายละเอียดในการดำเนินการสำหรับกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์การรับเงินจะต้องไม่ขัดต่อเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะสามารถแจกเงินได้ก่อนตรุษจีนปี 2568 หรือแจกได้เร็วกว่ากรอบที่วางไว้ ซึ่งจะพยายามให้เร็วกว่านั้น ขณะที่แจกเงินในกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือจะดำเนินการต่อไปหลังปีใหม่ ซึ่งจะกำหนดวันอีกครั้งภายหลังมีการประชุมหารือที่กระทรวงการคลัง 

“โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ ด้วยการแจกเงินสด 10,000 บาท ถือเป็นหนึ่งในของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน และอีกโครงการคือโครงการอีซี่ อี-รีซีท 2.0 ส่วนก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้มอบของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนไปก่อนแล้ว คือการช่วยปัจจัยการผลิตให้กับชาวนา ผ่านโครงการไร่ละ 1,000 บาท วงเงินรวม 3.5 หมื่นล้านบาท” นายจุลพันธ์ กล่าว 

สำหรับโครงการอีซี่ อี-รีซีท 2.0 ส่วน สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย แยกเป็นวงเงิน 30,000 บาทต่อราย สำหรับซื้อสินค่าและบริการทั่วไป แต่ไม่รวมสินค่าท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ซึ่งกระทรวงการคลังจะหารือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอีกครั้ง ส่วนอีก 20,000 บาทต่อราย เพื่อใช้จ่ายกับวิสาหกิจชุชน และโอทอปที่ผ่านการลงทะเบียน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเริ่มลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.-28 ก.พ. 2568 

ส่วนสินที่ไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้


1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์


2) ค่าซื้อยาสูบ


3) ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ


4) ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และค่าซื้อ


5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต


6) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนด


7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย


8) ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธรกิจนำเพื่ยวตาตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์


9) ค่าบริการที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม


10) ค่าบริการที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักโฮมสเตย์ไทยให้แก่ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องที่ยวและกีฬา (กก.)


11) ค่าบริการที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบการ สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

ผู้มีเงินได้ที่ได้รับสิทธิตามมาตรการนี้ ต้องไม่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 สถานีย่อยของคนไทย      ติดต่อเรา   SiteMap