5 ข้อควรรู้! ลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพ-ประกันชีวิต มีลักษณะแบบไหน

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพและประกันชีวิต หลายคนไม่รู้ก่อนยื่นภาษีประจำปี ไม่ว่าจะเป็นประกันโรคร้ายแรง ประกันพ่อแม่ บุตร สามี ภรรยา ลดหย่อนภาษีได้ไหม

เข้าสู่ช่วงยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจำปี 2567 สำหรับใครที่มีรายได้ในรอบปี 2567 สามารถยื่นภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. จนถึงวันที่ 31 มี.ค. 68 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 8 เม.ย. 68 ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th

หากใครที่มีเอกสารประกอบการขอคืนภาษี ควรเก็บเอกสารหลักฐานและยื่นไปพร้อมกัน เพื่อง่าย สะดวก และมีความรวดเร็วในการขอคืนภาษี หรือหักลดหย่อนภาษี ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยลดหย่อนภาษียอดนิยมคือ การซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษีในแต่ละปี

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพและประกันชีวิต

1.เบี้ยประกันสุขภาพสามารถลดหย่อนภาษีได้ 25,000 บาท

ตามที่กฎหมายกำหนดให้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

ประกันสุขภาพที่ลดหย่อนภาษีได้มีดังนี้

• ประกันสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ มีเงินชดเชยมอบให้กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพจากการเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ (เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามกรมธรรม์ที่คุณเลือกซื้อ)

• ประกันภัยอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดการสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเกิดการแตกหักของกระดูก

• ประกันภัยโรคร้ายแรง เช่น ประกันมะเร็ง ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลเมื่อตรวจพบเจอมะเร็ง

• ประกันภัยการดูแลระยะยาว ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองดูแลระยะยาว หากเกิดกรณีที่ผู้ทำประกันภัย ไม่สามารถทำกิจกรรมอย่างน้อย 3 ใน 5 อย่างนี้ได้ด้วยตัวเองหรือจำเป็นต้องมีผู้ช่วย การเปลี่ยนท่าระหว่างนอนและนั่ง การเดิน การแต่งกาย การอาบน้ำชำระล้างร่างกาย การทานอาหาร เป็นเวลาต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อยกว่า 180 วันหรือมีการรับรองจากแพทย์ชัดเจน โดยประกันภัยจะจ่ายเป็นค่าทดแทนรายเดือน หรือมอบเงินชดเชยให้ตามทุนประกันภัยที่ซื้อไว้ และจ่ายต่อเนื่องสูงสุดเช่น 24 หรือ 36 เดือน

2.เบี้ยประกันบำนาญลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท

คนส่วนใหญ่จะคิดว่าประกันบำนาญลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท แต่ในความจริงสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท สำหรับกรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประกันชีวิตแบบทั่วไป ในส่วนแรก 100,000 บาท เพราะประกันบำนาญ ถือว่าเข้าเงื่อนไขประกันชีวิตแบบทั่วไปด้วย เช่น หากจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปเพียง 50,000 บาท และจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญอีก 250,000 บาท เราสามารถนำเบี้ยรวม 300,000 บาท มาลดหย่อนได้ทั้งหมด

3.เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ลดหย่อนภาษี

ประกันสุขภาพหรือสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพของพ่อแม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงหรือสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขว่า พ่อหรือแม่ต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้นๆ

4.เบี้ยประกันชีวิตบุตรนำมาลดหย่อนภาษีได้

เบี้ยประกันชีวิตของบุตร ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ สำหรับคนที่มีลูก แต่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของค่าใช้จ่ายของบุตรตามที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้นโดยหักค่าใช้จ่ายได้คนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวน

5.สามีหรือภรรยาไม่มีรายได้ สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนได้ปกติ

ในกรณีสามีหรือภรรยาไม่มีรายได้ เมื่อยื่นภาษีรวมกันในส่วนของบุคคลที่ไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนภาษีค่าเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาทเท่านั้น เพราะส่วนที่เหลือ 90,000 บาท เป็นการยกเว้นจากรายได้เมื่อไม่มีรายได้ จึงไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

ขอบคุณข้อมูลจาก FWD

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 สถานีย่อยของคนไทย      ติดต่อเรา   SiteMap