ศุภาลัย จับมือCPACขับเคลื่อนก่อสร้างยุคใหม่

ศุภาลัย จับมือ CPAC ขับเคลื่อนก่อสร้างยุคใหม่ ลดวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ในโครงการ

นายกิตติพงษ์ศิริลักษณ์ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทศุภาลัยจำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างนวัตกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มองหาคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้แนวคิดReal Life Livingที่เดินหน้าสร้างสรรค์พื้นที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ทุกมิติของการใช้ชีวิตนอกจากนี้บริษัทฯยังร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยโดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกันเพื่อศึกษาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีคุณภาพสูงและสามารถนำไปใช้ต่อยอดในอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้จริง

ล่าสุดSUPALAIผนึกกำลังCPACในธุรกิจซิเมนต์เครือซิเมนต์ไทยหรือSCGในการให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเลือกใช้CPAC High Strength ConcreteหรือคอนกรีตกำลังอัดสูงCPACในการก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมจำนวน18โครงการอาทิศุภาลัยไอคอนสาทร,ศุภาลัยปาร์ค เอกมัยพัฒนาการ,ศุภาลัย เซนส์ ศรีนครินทร์,ศุภาลัยบลูเวลหัวหิน,ศุภาลัยปาร์คสถานีแยกไฟฉายและศุภาลัย เวอเรนด้าสุขุมวิท117ซึ่งนอกจากคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและทนทานให้กับโครงสร้างแล้วนวัตกรรมที่ทั้ง2บริษัทร่วมกันพัฒนาขึ้นนี้ยังช่วยลดการใช้คอนกรีตในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งมีส่วนสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง8,035,3219กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหรือคิดเป็นการปลูกต้นไม้845,812ต้นซึ่งลดผลกระทบต่อสภาพอากาศโดยรวมลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าโครงการคอนโดมิเนียมทั้ง18โครงการของบริษัทฯไม่เพียงแต่เป็นโครงการคุณภาพสูงที่ได้รับการออกแบบเพื่อความปลอดภัยและคุณภาพที่ยั่งยืนแต่ยังใส่ใจต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในทุกมิติ อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในการรักษาสมดุลของธรรมชาติเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมส่งต่อโลกและสังคมที่น่าอยู่ให้คนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง

นายสุรชัยนิ่มละออกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจเอสซีจีซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะทำอย่างไรให้ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเพื่อช่วยทั้งสังคมและโลกCPACจึงไม่หยุดที่จะพัฒนาสินค้าGreen Productเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ และตอกย้ำแนวคิดการก่อสร้างสีเขียวGreen Constructionด้วยเป้าหมายที่จะยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างของประเทศให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการก่อสร้างเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

CPAC High Strength Concreteหรือคอนกรีตกำลังอัดสูงซีแพคได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างและลดปริมาณการใช้วัสดุในการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติการรับแรงอัดสูงทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรง ทนทาน ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการใช้คอนกรีตในปริมาณที่น้อยลง ส่งผลโดยตรงในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2)จากกระบวนการผลิตคอนกรีต ซึ่งบริษัทฯมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ร่วมมือกับSUPALAIในการผลักดันเลือกใช้คอนกรีตที่มีคุณภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งการใช้‘CPAC High Strength Concrete’ไม่เพียงช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้าง สอดคล้องกับเป้าหมายในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนของทั้ง2บริษัท”

สำหรับCPAC High Strength Concrete(คอนกรีตกำลังอัดสูงซีแพค)ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นให้มีความแข็งแกร่งสามารถรับน้ำหนักงานโครงสร้างขนาดใหญ่ได้เนื้อคอนกรีตมีความเรียบเนียนสม่ำเสมอด้วยประสิทธิภาพของคอนกรีตทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์จากการใช้งานแบ่งออกเป็น2ด้าน ได้แก่

1. Speedเนื่องจากการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตช่วงต้นที่รวดเร็ว จึงช่วยทำให้งานก่อสร้างเสร็จไวยิ่งขึ้น

2. Environmentการใช้ปูนสูตรไฮบริดสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Co2)ที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

“ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่าง CPAC และSUPALAI ในการเดินหน้าอย่างชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนวงการอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมด้วยนวัตกรรมสีเขียวพร้อมมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero“

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 สถานีย่อยของคนไทย      ติดต่อเรา   SiteMap