เปิดวิธีเช็กสิทธิ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ผู้สูงอายุ แอปทางรัฐ ถ้าไม่ได้ทำยังไง

เปิดวิธีเช็กสิทธิ เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 2 โอนเข้าบัญชีผู้สูงอายุ ต้องทำยังไง ผ่านแอปทางรัฐ เงินเข้าวันไหน ถ้าเงินไม่เข้าทำยังไง มีคำตอบให้ครบที่นี่!

อัปเดตความคืบหน้าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทล่าสุด รอบสอง หรือ เงินดิจิทัล เฟส 2 กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวนประมาณ 4 ล้านราย โดยกระทรวงการคลัง ยืนยันวันประกาศผลว่าใครบ้างได้สิทธิ และแจ้งวันโอนเงินแล้ว

รายละเอียด เงื่อนไข คุณสมบัติ ผู้มีสิทธิเงินดิจิทัล เฟส 2 ผู้สูงอายุ

เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ 15 กันยายน 2567 (เกิดก่อนหรือในวันที่ 16 กันยายน 2507)เป็นผู้มีเงินได้ไม่เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566เป็นผู้ที่มีเงินฝากรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567ไม่เป็นผู้อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567ไม่เป็นผู้ต้องขัง 4 ประเภท ได้แก่ นักโทษเด็ดขาด ผู้ต้องขังระหว่าง ผู้ต้องกักขัง และผู้ต้องกักกัน ตามฐานข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567ไม่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ หรือโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟสแรก

ตรวจสอบสิทธิ เงินดิจิทัล เฟส 2 ผู้สูงอายุ ได้ที่ไหน เมื่อไหร่?

สามารถตรวจสอบสิทธิ ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ได้ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไปผู้สูงอายุ ได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในวันที่ 27 มกราคม 2568

วิธี-ขั้นตอนตรวจสอบเงินดิจิทัล ผู้สูงอายุ บนแอปทางรัฐ


1. เข้าแอปทางรัฐ


2. กรอกบัญชีผู้ใช้หรือเลขประจำตัวประชาชน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อ “เข้าสู่ระบบ” ให้เรียบร้อยก่อน


3. กด “ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน” โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อเข้าสู่หน้าแสดงผลผู้มีสิทธิโครงการ

แสดงอยู่ขั้นตอนที่ 3 คือ ระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิแสดงอยู่ขั้นตอนที่ 4 คือ ท่านไม่ได้รับสิทธิแสดงอยู่ขั้นตอนที่ 5 คือ ท่านได้รับสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 2 ผู้สูงอายุ

ตรวจสอบผลการจ่ายเงินว่าตนได้รับโอนเงิน 10,000 บาท สำเร็จหรือไม่ ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ได้ในวันถัดจากวันที่รัฐจ่ายเงิน (แสดงผลการจ่ายเงินครั้งแรกในวันที่ 28 มกราคม 2568)

ผู้สูงอายุ รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท เงินเข้าบัญชีไหน?

ผู้สูงอายุที่มีสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท เงินเข้าบัญชีเงินฝากที่ผูกพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น (ไม่สามารถรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับเบอร์โทรศัพท์ได้)การผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน สามารถผูกกับบัญชีเงินฝากของธนาคารใดก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นธนาคารของรัฐแนะนำให้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 มกราคม 2568 เพื่อรอรับการจ่ายเงินในวันที่ 27 มกราคม 2568กรณีผู้สูงอายุมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนอยู่แล้ว ควรตรวจสอบกับธนาคารด้วยว่า บัญชีดังกล่าวยังคงมีสถานะปกติที่สามารถรับเงินโอนได้หรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าพร้อมรับเงินในวันที่ 27 มกราคม 2568สามารถนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าอะไรก็ได้ ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายแต่อย่างใด

ผู้สูงอายุไม่ได้รับเงินดิจิทัล เฟส 2 ทำยังไง?

กรณีที่จ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรก จะมีการดำเนินการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่


ครั้งที่ 1 โอนจ่ายวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ต้องผูกพร้อมเพย์ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568


ครั้งที่ 2 โอนจ่ายวันที่ 28 มีนาคม 2568 ต้องผูกพร้อมเพย์ภายในวันที่ 25 มีนาคม 2568


ครั้งที่ 3 โอนจ่ายวันที่ 28 เมษายน 2568 ต้องผูกพร้อมเพย์ภายในวันที่ 23 เมษายน 2568

เมื่อพ้นกำหนดการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ครบทั้ง 3 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงิน กระทรวงการคลังจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ

ช่องทางการสอบถามข้อมูล


1. ตรวจสอบสิทธิ และผลการได้รับเงินในโครงการฯ แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”


2. เว็บไซต์กระทรวงการคลัง www.mof.go.th แบนเนอร์โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ (https://mof.go.th/th/detail/2024-12-27-15-36-42/2024-12-27-15-42-50)


3. Call Center สำหรับสอบถามข้อมูลโครงการฯ ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน สายด่วน 1111

ที่มา : กระทรวงการคลัง ณ วันที่ 16 ม.ค. 68

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 สถานีย่อยของคนไทย      ติดต่อเรา   SiteMap