เดือดจัด! ‘มหากิจศิริ’ โต้ปมร้อนสะบั้นรัก ‘เนสกาแฟ’ หลังข้อมูลถูกบิดเบือน

เดือดจัด! 'มหากิจศิริ' โต้ปมร้อนสะบั้นรัก 'เนสกาแฟ' หลังข้อมูลถูกบิดเบือน ชี้ หย่าขาดกันได้แต่อย่าทำร้าย

จากข่าวใหญ่ของการสะบั้นรักระหว่าง“เนสท์เล่”เจ้าของ“เนสกาแฟ”กับตระกูล“มหากิจศิริ”ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด (QCP) เพื่อผลิตกาแฟและจำหน่ายในประเทศไทย จนเกิดข้อพิพาทฟ้องร้องกัน

ล่าสุดบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด (QCP)ออกแถลงการณ์ข้อเท็จจริง กรณีข้อพิพาททางกฎหมายกับบริษัทเนสท์เล่ หลังศาลแพ่งมีนบุรีมีคำสั่งห้ามเนสท์เล่ผลิต ขาย และนำเข้าเนสกาแฟ มาจำหน่ายในไทย เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2568 แต่เนสท์เล่ กลับไปฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เพื่อขอดำเนินธุรกิจต่อ

ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ ระบุว่า“บริษัท QCP เป็นการร่วมทุนระหว่างครอบครัวมหากิจศิริ กับเนสท์เล่ในสัดส่วน 50:50 ซึ่งแม้สูตรกาแฟกับเทคโนโลยีการผลิตจะเป็นของเนสท์เล่ทั้งหมด แต่เป็นเงินที่บริษัท QCP จ่ายให้เนสท์เล่ หลายหมื่นล้านบาทในระยะเวลาที่ผ่านมา จากนั้นเมื่อบริษัท QCP หมดอายุสัญญากับเนสท์เล่ ทางเนสท์เล่ก็ไม่ได้ต่อสัญญา จนเมื่อเดือนธันวาคม 2567 ศาลอนุญาโตตุลาการสากล ก็ตัดสินว่าเนสท์เล่เลิกสัญญาร่วมทุน (Joint Venture) กับคุณประยุทธ มหากิจศิริ เพียงคนเดียว”

ทั้งนี้เนสท์เล่ ได้เลิกสัญญาร่วมทุน (Joint Venture) กับคุณประยุทธ มหากิจศิริ เพียงคนเดียว (ซึ่งไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายไทย) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณประยุทธ มหากิจศิริ ถือหุ้นเพียง 3% เท่านั้น โดยไม่มีผลผูกพัน แต่คุณเฉลิมชัย มหากิจศิริ ซึ่งถือหุ้นใหญ่สุด 47% และยังไม่ผูกพันบริษัท QCP ด้วย 100%

ฉะนั้น…สิ่งที่เนสท์เล่ พาดพิงจากข้อพิพาทกับคุณประยุทธ ในเรื่องเลิกสัญญานี้ จึงเป็นการบิดเบือน

และเพื่อความถูกต้อง คุณเฉลิมชัย มหากิจศิริ และครอบครัว จึงฟ้องคดีต่อศาลแพ่งมีนบุรี ขอความเป็นธรรม โดยมีคำสั่งห้ามเนสท์เล่ ซึ่งยังถือหุ้นร่วมกันอยู่ 50:50 เท่ากัน “ไม่ให้ผลิต ห้ามขาย ห้ามนำเข้าสินค้า เนสกาแฟมาจำหน่ายในประเทศไทย” เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ทำให้เนสท์เล่ ไม่สามารถนำเข้าสินค้าเนสกาแฟจากต่างประเทศมาแย่งอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้

ในแถลงการณ์ตอนหนึ่ง ยังระบุว่าเนสท์เล่ไม่เคารพคำสั่งศาลไทย ไปฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2568 และมีการบิดเบือนเพื่อให้สังคมเข้าใจผิดอีกว่า ให้เนสท์เล่กลับมาดำเนินธุรกิจเนสกาแฟได้ตามปกติ (ซึ่งศาลท่านไม่ได้มีคำสั่งเช่นนั้น)

นอกจากนี้แถลงการณ์ยังชี้ว่า ความเป็นจริง เมื่อเนสท์เล่และมหากิจศิริ มีความเห็นต่างกันในเชิงธุรกิจ ก็สามารถหย่าขาดจากกันได้ แยกทางกันได้ แต่จะทำร้ายลูกไม่ได้โดยขณะนี้QCP มีทรัพย์สินอยู่ร่วมหมื่นกว่าล้านบาท และมีเงินสดอยู่ 5,000 ล้านบาทซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้ว ควรให้บริษัทQCP ผลิตเนสกาแฟต่อ หรือผลิตกาแฟยี่ห้อ QCP เองก็ได้ เพื่อสนองความต้องการของตลาดในราคาที่ถูกลงได้.

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 สถานีย่อยของคนไทย      ติดต่อเรา   SiteMap