IMF เตือนสัญญาณรุนแรง โลกก้าวสู่ความเปราะบางทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ ไทยโตต่ำสุดในอาเซียน เผยข้อเสนอแนะหนทางความอยู่รอด
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ส่งสัญญาณแรงว่า โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความเปราะบางทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ เมื่อสหรัฐ เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าในระดับสูงสุดในรอบศตวรรษ จนเกิด “สงครามการค้าระลอกใหม่” ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนในตลาดโลกและกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในวงกว้าง
IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP โลก ปี 2025 เหลือ 2.8%ความเสี่ยงถดถอยในสหรัฐ พุ่งแตะ 40%เงินเฟ้อทยอยลด แต่เสถียรภาพการเงินยังเปราะบางจากนโยบายที่ไม่แน่นอน
ประเทศเศรษฐกิจหลัก โตต่ำ-เสี่ยงสูง
สหรัฐ : โตเพียง 1.8% แม้ใช้ภาษีปกป้องอุตสาหกรรม แต่ส่งผลกระทบความเชื่อมั่นในประเทศจีน : GDP ชะลอเหลือ 4.0% จากสงครามภาษีและการส่งออกหดตัวยูโรโซน : โต 0.8% เศรษฐกิจเยอรมนี-อิตาลี ยังไม่ฟื้นญี่ปุ่น : โตเพียง 0.6% เผชิญแรงต้านจากโครงสร้างประชากรอินเดีย : โตโดดเด่นสุดในกลุ่มใหญ่ที่ 6.8%
อาเซียน : เสี่ยงกระทบจากการค้าโลก
เศรษฐกิจอาเซียนเติบโตชะลอลงจากแรงกดดันการส่งออก โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาสหรัฐ และจีนIMF คาดว่า เอเชียแปซิฟิก รวมถึงอาเซียน จะโต 4.4% ในปี 2025ด้านเวียดนาม ถูกสหรัฐขึ้นภาษี 46% ในหลายกลุ่มสินค้า ส่งผลกระทบหนักต่ออุตสาหกรรมส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ทำให้ IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 ลงเหลือ 5.2%
ไทย : โตต่ำสุดในอาเซียน
IMF คาดว่า GDP ไทยปี 2025 จะโตเพียง 1.8% (จากเดิม 2.9%) และปี 2026 ลดลงอีกเหลือเพียง 1.6%เงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำสุดในภูมิภาคที่ 0.7% สะท้อนอุปสงค์ในประเทศยังไม่ฟื้นเศรษฐกิจไทยยังเปราะบางจากการพึ่งพาการท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ อีกทั้งการบริโภคภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว และความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : อยู่รอดในโลกไร้เสถียรภาพ
ลดความไม่แน่นอนด้านการค้า : สนับสนุนการหวนคืนสู่การเจรจาพหุภาคี เพื่อหลีกเลี่ยงวงจรตอบโต้แบบ win-loseสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้แกร่ง : ลดการพึ่งพาส่งออก และกระตุ้นภาคการผลิต-บริการภายในรักษาเสถียรภาพการเงิน : ใช้นโยบายการเงินและการคลังอย่างรอบคอบ เพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากตลาดโลก
ข้อมูลจาก Bnomics by Bangkok Bank