‘พาณิชย์’ ขีดเส้นล้างบางตรวจนอมินี 4.6 หมื่นราย 77 จังหวัดให้จบ 3 เดือน

"พาณิชย์" ขีดเส้นผู้ว่าราชการจังหวัดล้างบางกลุ่มเสี่ยงนอมินี 77 จังหวัด 4.6 หมื่นราย ให้จบ 3 เดือน ส่วนนอมินีใหม่ใช้กฎหมายปปง.จัดการ หากพบทำผิดยึดทรัพย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ได้รับข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ที่เน้นย้ำการเข้มงวดกับสินค้านำเข้าที่ไม่ได้มาตรฐาน การดำเนินธุรกิจแบบนอมินี การขายสินค้าต่างชาติผิดกฎหมายทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ พร้อมรับทราบผลดำเนินการช่วง 9 เดือนปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยได้ดำเนินคดีกับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและผิดกฎหมายไปแล้วกว่า 39,186 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 2,074 ล้านบาท และเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้านำเข้าที่ต่ำกว่า 1,500 บาท ได้ถึง 1,796 ล้านบาท พร้อมกันนี้ยังได้ถอดสินค้าผิดกฎหมายจากแพลตฟอร์มออนไลน์ไปแล้วกว่า 10,378 รายการ ส่วนการปราบปรามธุรกิจนอมินี มีการดำเนินคดีรวม 857 ราย มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 15,288 ล้านบาท

ทางด้าน นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ให้คณะทำงานระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งตรวจสอบธุรกิจที่มีความเสี่ยง ซึ่งมีคนต่างด้าวเข้ามาถือหุ้นตั้งแต่ 0.001-49.99% ใน 6 ธุรกิจเสี่ยง จำนวน 46,918 ราย โดยเป็นการปูพรมตรวจ 77 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมได้ขอให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยกำชับให้ตรวจสอบเห็นผลภายใน 3 เดือน 

“สิ่งที่เราทำตอนนี้ในส่วนของธุรกิจต่างด้าวเก่า ที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยแล้ว ก็จะเร่งล้างให้จบเห็นผลได้ภายใน 3 เดือนและรายงานกลับมาให้รับทราบ ยกเว้นจังหวัดที่มีนิติบุคคลมากและหลังจากนั้นจะจัดการนอมินีที่จะเกิดขึ้นใหม่โดยเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลซึ่งขณะนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำลังทำงานร่วมกับปปง.ในการออกกฎหมายใหม่ เพื่อยึดทรัพย์เพิ่มเติมหากมีการกระทำผิด“

สำหรับกฎหมายที่กำลังยกร่างเป็นกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีสาระสำคัญกำหนดเพิ่มเติมให้คนไทยที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนหรือร่วมประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าวหรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าวในธุรกิจที่อยู่ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ. 2542หรือคนต่างด้าวที่ยอมให้คนไทยกระทำการแทนดังกล่าวตามมาตรา36 (ความผิดฐานนอมินี)และกรณีที่คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา37เป็นความผิดมูลฐานตามร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ฉบับที่. …)พ.ศ. …ซึ่งจะนำไปสู่การยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างด้าวให้ตกเป็นของแผ่นดิน

นายนภินทร กล่าวว่าสำหรับธุรกิจเสี่ยง46,918รายนั้นแยกเป็นธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง11,324รายคิดเป็น24.14% ธุรกิจค้าที่ดินอสังหาริมทรัพย์26,038ราย คิดเป็น55.49% ธุรกิจe-commerceขนส่งและคลังสินค้า3,252รายคิดเป็น 6.93% ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ท2,570รายคิดเป็น5.48%ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร(ล้ง) 1,220รายคิดเป็น2.60%และธุรกิจก่อสร้างทั่วไป2,514รายคิดเป็น5.36%

ทั้งนี้ จังหวัดที่มีต่างชาตถือหุ้น0.001-49.99%จำนวน10อันดับแรกได้แก่ชลบุรีกรุงเทพฯสุราษฎร์ธานีภูเก็ตเชียงใหม่ประจวบคีรีขันธ์สมุทรปราการปทุมธานี นนทบุรีและระยองและต่างชาติถือหุ้น40-49.99%จำนวน10ลำดับแรกได้แก่ ชลบุรีกรุงเทพฯสุราษฎร์ธานีภูเก็ตประจวบคีรีขันธ์เชียงใหม่สมุทรปราการระยองปทุมธานีและกระบี่

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 สถานีย่อยของคนไทย      ติดต่อเรา   SiteMap